2 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับเพศสภาพ



  • พัฒนาการของสตรีนิยม
    • สตรีนิยม Feminism
      • แนวคิดที่ีให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องเพศ จำแนกออกเป็น
        • เพศธรรมชาติ (sex)
          • เพศที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
        • เพศสภาวะ (GenderX
          • เพศที่สังคมประกอบสร้าง
          • กลายมาเป็นตัวแปรสำคัญที่มี 2 เงื่อนไข
            • สังคม
            • วัฒนธรรม
      • การครอบครองอำนาจ Power ของผู้ชาย
        • ชายเป็นใหญ่
          • อิสระภาพ
      • การจำกัดพื้นที่ของ หญิง
      • เทคโนโลยีที่ผลิตขึ้น เช่น รถ เครื่องซักผ้า ฯลฯ เพื่อรับใช้ ชาย
    • หลัง ศต.20 มีการรวมกันของ "ขบวนการสิทธิสตรี (Women movement)
      • ภาคปฏิบัติ
      • การศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับความจริงทางสังคม
        • เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศ
        • ความสัมพันธ์เกี่ยวกับตัวแปรเชิงวัฒนธรรม อื่นๆ
          • ชาติพันธ์
          • ศาสนา
          • อายุ
          • ชนชั้น
          • อาชีพ
          • ฯลฯ
        • การสื่อสาร
    • ความสนใจของ สตรีนิยม
      • 1.มุมมองด้านเพศภาวะ (Gender lens)
        • กรณีการใช้เวลาว่าง
          • มาร์กซิสมองว่า เวลาว่างเป็นผลผลิตของระบบทุนนิยม สร้างขึ้นมาเพื่อ "ครอบงำและขูดรีด" ชนชั้นแรงงาน
          • สตรีนิยม ขยายมุมมองออกไปอีกว่า ในระบบทุนฯ มีการขูดรีด แต่ในขณะที่เวลาว่างของชาย ย่อมมีมากกว่า หญิง
      • 2.การเมืองของการนสร้างความรู้ (Politics of Knowledge)
        • แนวคิดที่สอดคล้องกับ ฟูโกต์ ที่ว่า "ความรู้ไม่ใช่ข้อเท็จจริง หรือ สัจจธรรม ที่เป็นประโยชน์ สำหรับมนุษย์ แต่ความรู้เกิดจากกลวิธี อำนาจทางสังคม
        • นำมาสู่คำถามที่ว่า " ความรู้ต่างๆ ถูกสถาปนาโดยใคร เป็นอำนาจของใคร
        • "ความรู้ เป็น ผลผลิตทาง เพศ ใช่หรือไม่
      • 3.การสร้างความรู้แลลสหวิทยาการ (Interdidciplinary)
        • ความรู้ และ โลก ส่วนใหญ่ ถูกสถาปนาขึ้น จากอำนาจของ เพศชาย
        • ความรู้ ถูกผสานเข้ากับหลายสำนัก
          • วรรณกรรม
          • การสื่อสาร
          • วิทยาศาสตร์
          • สิ่งแวดล้อม
          • การเมือง
          • การปกครอง
          • ศาสนา ฯลฯ
      • 4.สนใจค้นคว้าตัวแปรใหม่ๆ
        • ตัวแปรในที่นี้เข้ามีส่วนสัมพันธ์กับเพศสภาวะ(Gender)
          • ความรื่นรมย์ (pleasure)
          • เพศวิถี (Sexuslity)
          • เวลาว่าง
          • ร่างกาย
          • ส่วนตัว / สาธารณะ(private / Public
          • พื้นที่
          • ความบันเทิง ฯลฯ
    • พัฒนาการการต่อสู้ของหญิง
      • การต่อสู่ของผู้หญิง ตะวันตก
        • ศต.12-16
          • ในโลกตะวันตกเรียกว่า ยุคมืด (Dark Age)
            • มีการก่อตัวของชนชั้นกระฎุมพี
            • มีการสถาปนาอำนาจของคริสตศาสนา
            • เกิดโลกทัศน์ ชายเป็นใหญ่
            • หญิงที่ต่อสู้ จะถูกกล่าวหาว่าเป็น แม่มด
              • เกิดการล่าแม่มด (Witch Hunt)
              • ทำลายความรู้ของผู้หญิง
        • ศต.18
          • ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมมีการขยายตัว
            • เกิดการแบ่งงานกันทำ (Division of labour)
              • คำอ้างคืิอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
              • แต่การควบคุม / บริหาร /กำหนดนโยบาย เป็นของ "ผู้ชาย" เป็นส่วนใหญ่
            • เกิดลัทธิแม่บ้าน (House wifisation)
              • มีบทบาทในการกำหนดหน้าที่ ระหว่างพื้นที่สาธารณะ กับ พื้นที่ส่วนตัว ที่ชัดเจน
                • ชาย ทำหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัว
                • หญิงเป็นแม่บ้าน
            • หญิง ต้องตกอยู่ภายใต้อาณัติของ "ลัทธิบริโภคนิยม"
              • การซื้่อของเข้าบ้าน
              • รอลดกระหน่ำ
              • เครื่องสำอาง
              • การทำจมูก/ทำปาก/ทำหน้า-ตัว ฯลฯ ต้องมีรูปร่างผอม เป็นต้น
        • ยุคกลาง ศต.20 - ปัจจุบัน
          • การล่มสลายของโซเวียตในปี 1956 ทำให้ 1960 เป็นการต่อสู่ของ หญิง ตะวันตกยุคใหม่
            • การเคลื่อนไหวทางสังคม โดยการเรียกร้องสิทธิ
            • เรียกร้องความเสมอภาค
            • เกิดการศึกษาในมิติที่ว่า "หญิง" มิใช่วัตถุ แต่เป็นผู้ที่มีอำนาจ และ สร้างความรู้ เหมือนกัน
            • เกิดแนวคิด สตรีนิยม (Feminism) ที่ึศึกษาเกี่ยวกับ ผู้หญิง และ เพศภาวะ
              • เรื่องส่วนตัว / เรื่องครอบครัว / ร่างกาย / เป็นเรื่องการเมืองชนิดหนึ่ง
          • 1970
            • กระแสสตรีนิยม เริ่มไหลเข้าสู่โลกของสื่อสารมวลชน
          • 1978
            • เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มนักวิชาการสตรี
          • 1980
            • การศึกษาเกี่ยวกับ สตรีนิยม ไปสู่การวิเคราะห์ประเด็นใหม่ๆ
          • ปัจจุบัน
            • มีการผสานข้ามศาสตร์ และเกิดสาขาความรู้ ที่เรียกว่า Interdiscipinary
              • จากสตรีนิยม
              • สู่เพศสภาวะ
                • ขยายประเด็นทางชีวะภาพ
                • สู่การศึกษาที่หลากหลาย
                  • ความเป็นชาย
                  • ความเป็นหญิง
                  • ความเป็นรักร่วมเพศ
                  • ทฤษฎีว่าด้วยรักร่วมเพศ
                  • ฯลฯ
      • การต่อสู่ของผู้หญิงในสังคมไทย
        • ในสัมยรัฐกาลที่ 4 กรณีอำแดงเหมือน
        • พ.ศ.2431-2475
          • หญิงไทยมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากนิตยสาร
        • พ.ศ.2516
          • นักกิจกรรม หญิง มีโอกาสได้เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
        • พ.ศ.2516-2517
          • มีการจัดตั้งองค์กรสตรี "สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี" เพิื่อแก้ไขกฎหมายผ่าน สื่อสารมวลชน
          • การดำเนินการในเรื่องนี้มักถูกพ่วงประเด็นทางการเมืองไปด้วยเสมอ
            • เช่น ภาพการเคล่ื่อนไหวของสตรีถูกถ่ายทอดอย่างไม่เหมาะสมผ่านช่องทางสื่อสารมวลชน
        • พ.ศ.2518
          • มีการประกาศวันสตรีสากล ที่มีการรับรู้ไปทั่วโลก
        • พ.ศ.2519-2528
          • กลุ่มองค์กรสตรี เริ่มแยกตัวออกจากองค์ฺทางสังคมอื่นๆเพื่อจับประเด็นสตรีโดยเฉพาะ
            • เช่น ปัญหาโสเภณี / การข่มขืน ความรุนแรง การทำแท้ง ฯลฯ
        • แผนพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ.2535-2554
          • เร่ิมมีการกำหนดแผนที่เน้นไปในด้านที่เกี่ยวข้องกับ สตรี โดยเฉพาะ
          • สื่อสารมวลชน เป็นกลไกสำคัญในการเคลื่อนไหวนี้
        • ปัจจุบัน
          • เกิดกระบวนการเคลื่อนไหวด้านสตรี และเพศสภาวะที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
          • แนวคิดเกี่ยวกับ สตรีนิยม เข้าไปเป็นส่วนผสมของการร่างรัฐธรรมนูญ ด้วย
  • -ทฤษฎีสตรีนิยม
    • -สตรีนิยมสายเสรีนิยม
      • โวลล์สโตนคราฟ
        • สังคมพัฒนาไปมาก แต่บทบาทของ หญิง ไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย
          • ผู้สนใจเรื่องความเท่าเทียมในสิทธิทางเพศ
            • สังคมจะดีจะต้องประกอบด้วย
              • 1.ความเสมอภาค(Equality)
              • 2.เสรีภาพ(Freedom)
              • 3.ภราดรภาพ(Fraternity)
          • ไม่เห็นด้วยกับ รุสโซ ที่ว่าผู้หญิงไม่มีเหตุผล
            • เข้าโต้แย้งว่า ที่จริงแล้วผู้หญิงขาดโอกาสที่จะโต้แย้งมากกว่า / และ เป็นธรรมชาติ ของผู้หญิง
          • เสนอให้เห็นถึงมิติของการกดขี่
            • 1.การกดขี่ทางวัฒนธรรม
              • การห่อเท่้าของชาวจีน / การคลุมถุงชน
            • 2.การกดขี่ทางสังคม
              • การกดขี่ผ่านสถาบัน /โรงเรียน/ครอบครัว
            • 3.การกดขี่ทางการเมือง
              • กดขี่ทางกฎหมาย
    • -สตรีนิยมสายมาร์ซิสต์ (Marxist Feminism)
      • แนวนี้มีลักษณะของการวิพากษ์(critical)
        • Friedrich Engels
          • วิเคราะห์เรื่อง "ชนชั้น"
            • กรรมสิทธ์ส่วนบุคคล เป็นสาเหตุของการเกิดชนชั้น และการเอารัดเอาเปรียบ
          • ทุนนิยมไม่เพียงแต่การกดขี่แรงงาน //// กรณี วันหยุด มีประเด็นของการขูดรีด ระหว่างเพศ แทรกอยู่ด้วย
        • Juliet Mitchell (1940)
          • เรื่องของการแบ่งงานกันทำ นำมาสู่การขูดรีด
            • เช่น ผู้ชายทำหน้าที่ บริหาร / ควบคุม /กำหนดแนวทาง
            • ผู้หญิง เป็นเลขา พนักงานต้อนรับ
        • กรัมชี่
          • สนใจปัญหาเชิงอุดมการณ์และจิตสำนึก ที่ถูกสร้างผ่าน "ภาษา"
            • เช่น หญิงสวยต้องผอม / ชายหล่อต้องมี ซิกแพค เป้นต้น
      • สอดรับกับเรื่องเกี่ยวกับ "เพศภาวะ" (Gender)
    • -สตรีนิยมสายถอนรากถอนโคน (Radical Feminism)
      • เวอร์จิเนีย วูลฟ์
        • ไม่เชื่อว่า "ทุนนิยมจะกดขี่ผู้หญิงไว้"
        • แต่ผู้หญิงถูกกดขี่มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นก่อนทุนฯ หรือ หลังทุนฯ ผู้หญิงถูกกดขี่ผ่านระบบสังคม "ปิตาธิปไตย" หรืิอ ชายเป็นใหญ่ (Patriarchy)
          • ในประวัติศาสตร์ หญิงถูกเอาเปรียบเสมอ
          • การเอาเปรียบหญิง ถูกฝังรากลึกในระดับ จิตใต้สำนึก
            • เช่น การกระทำผ่านความเป็นแม่ ทางชีวะภาพ(Biological Motherhood)
            • การมีครอบครัวต้องมีการสมรส การบอกผี เป็นต้น
            • ผู้หญิงที่ดี คือ ผู้หญิงบริสุทธิ์ /รักนวลสงวนตัว
          • การขูดรีดในผู้หญิง สามารถพัฒนาไปสู่การขูดรีดในแบบอื่นๆ เช่น
            • ขูดรีดระหว่างชนชั้น
            • ขูดรีดระหว่างชาติพันธ์
            • ขูดรีดระหว่างสีผิว
            • ขูดรีดระหว่างอายุ ฯลฯ
        • ข้อเสนอคิือ "ล้มล้างลัทธิชายเป็นใหญ่ลง"
          • เช่น การปฏิเสธระเบียบสัญลักษณ์แบเพศชาย(Male Symbplic Order) ที่นำเอาแบบของผู้ชาย มาเป็นมาตรฐานวัดความมีคุณค่า
            • เช่น ผู้ประกาศหญิง ต้องแสดงความเคร่งขรึม เหมือนผู้ประกาศชาย
    •  -สตรีนิยมสายหลังโครงสร้างนิยม (Post-structuralist Feminism)
      • จูดิธ บัทเลอร์ (Social action)
        • ความหมายต่างๆ ถูกประกอบสร้างผ่านโครงสร้างทางภาษา
        • ความหมายของผู้หญิง ผู้ชาย ถูกสร้างผ่านภาษา
          • สังคมรับรู้ และนำไปสู่การปฏิบัติ สืบทอดกันต่อๆไป
      • การต่อสู้ของผู้หญิง คือ ยอมรับ และต่อต้าน
        • ยอมรับ
          • ทำงานในอาชีพที่สังคมกำหนด
        • ต่อต้าน
          • ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่ สังคมคาดหวังว่าเป็นงานของผู้ชาย
    • -สตรีนิยมสายหลังสมัยใหม่(Postmodern Feminism)
      • ได้รับอิทธิพลมาจาก ทฤษฎีสังคมศาสตร์ สายปรากฎการณฺ์วิทยา(Phenomenology)
        • ที่เชิื่อว่า ความจริงรอบตัวเรามิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นการประกอบสร้างของสังคม
        • จึงมีคำถามว่า ใครเป็นผู้มีอำนาจในการประกอบสร้าง
        • การประกอบสร้างนี้มีไว้เพื่ออะไร
      • เอกสารประกอบการบรรยาย Ppt
      • ความหลากหลายทางเพศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

🍎กติกาการเรียน🍎

🍎กติกาการเรียน🍎         🤩1.เข้าเรียนไม่ช้ากว่า คาบเช้า 9.00 คาบบ่าย 12.30 น.          🤩2.เรียน 14 ครั้ง (ไม่นับสัปดาห์สอบ) ขาดเรียนไ...