1 ความหมายและความเป็นมาของการศึกษาเกี่ยวกับ Gender

ความหมายและความเป็นมาของการศึกษาเกี่ยวกับ Gender

ประเด็นเรื่องเพศสภาพ(gender’s issues)ในต่างประเทศ
v   ศต.19  USA ต่อสู้เพื่อสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง มีการพัฒนาการเคลื่อนไหวเพื่อความเสมอภาคด้านเพศภาวะ
v   1955 ใช้ในการแยกความแตกต่างระหว่าง เพศชายและ เพศหญิง
v   1960 เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี หรือ สตรีนิยม หรือ การเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยสตรี ได้รณรงค์ทางสังคมเพื่อสิทธิของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อย นักสตรีนิยมได้ต่อสู้อย่างเข้มข้นเพื่อท้าทายและปรับเปลี่ยนขนบธรรมเนียมและประเพณีดั้งเดิมของภาพเหมารวมต่อบทบาทหญิงชาย/มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสิทธิในสินสมรสของสตรี
v   1970 เมื่อทฤษฎีว่าด้วยสิทธิสตรีได้กล่าวถึงการแยกแยะความแตกต่างของเพศทางชีววิทยาหรือเพศโดยกำเนิดและเพศที่สังคมกำหนดสร้างขึ้น (social construct)
v   1993หมายถึง กลไกชีวภาพหรือสรีระศาสตร์ (physiology) ของสัตว์ที่มิใช่มนุษย์โดยไม่มีนัยด้านบทบาททางสังคม
v   1978 ความหมายที่เชื่อมโยงความหมายของเพศโดยกำเนิด กลไกชีวภาพหรือสรีระศาสตร์และบทบาททางสังคมในงานวิชาการสตรีนิยมว่าด้วยเรื่อง การมีจิตใจเหมือนเพศตรงข้าม” (transsexualism)

ลักษณะของเพศสภาพในประเทศไทย
                                          ชายไทยไม่มีพฤติกรรมมีเมียมาก
                                          ชายไทยเดินตามระบบศาสนา
                                          หญิงไทยไม่ต้องถูกกักตัวในฮาเร็ม // มีชีวิตอิสระ  // ไม่มีลักษณะที่เป็น ทาส   เหมือนกับ ยุโรป / จีน / อินเดีย
                                          ไม่ได้มองว่า ญ.อ่อนแอ ต้องได้รับการคุ้มครอง
                                          ความเป็น ญ ไม่ได้ทำให้ได้รับทรัพย์สินน้อย
                                          ญ/ช บรรลุนิติภาวะที่ 20 ปี
                                          ญ ได้เปรียบ ** ได้รับการยกเว้นภาษี
                                          2440 เริ่มมีการจดทะเบียนสมรสโดย จนท.  ***ชาย 20 ปี หญิง 16 ปี
                                          2519 มีการยกสถานะให้เท่ากัน
                                        อำนาจในการเลือกภูมิสำเนา
                                        อาจเกี่ยวกับสินสมรส
                                        อำนาจในการหย่า / แต่ง
                                          2533 การกำหนดนิติกรรม
                                        การจัดการนิติกรรมได้ตามลำพัง
                                        สมรสซ้อนเป็นโมฆะ

เป้าประสงค์ของ Gender
                                          ความเสมอภาคด้านเพศภาวะ (Gender equality)
                                          มาจากฐานความเชื่อว่ามีความไม่ยุติธรรมและไม่เสมอภาคด้านเพศภาวะ ในรูปแบบต่างๆ มากมายมหาศาล
                                          ปลดปล่อยผู้หญิง !!

เป็นประเด็นสนับสนุนของ UN  เพื่อความเท่าเทียมทางเพศและให้อำนาจสตรี (United Nations Entity for Gender Equality and the Empowerment of Women) เป็นประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบสำคัญๆ ที่ผู้หญิงต้องเผชิญอยู่ เป็นประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความเป็นธรรมและความเสมอภาคด้านเพศภาวะที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้สังคมบรรลุถึงความเสมอภาคด้านเพศภาวะ (gender equality)  เพิ่มพลังและศักยภาพสตรี (women’s empowerment)ประกอบด้วย
                  ประเด็นผู้หญิงกับความยากจนและเศรษฐกิจ
                  ประเด็นความรุนแรงต่อสตรี
                  ประเด็นการติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์
                  ประเด็นการมีส่วนร่วมทำการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
                  ประเด็นการอยู่ในภาวะสงครามและกระบวนการสันติภาพ
                  ประเด็นสิทธิมนุษยชน  ฯลฯ



บทบาทด้านเพศภาวะ (Gender roles)
                                          กรอบวิถีปฏิบัติหรือปทัสถาน (norms) ทางสังคมและพฤติกรรมที่ความเหมาะสมกับบริบทของสังคมวัฒนธรรมหนึ่งๆของบุคคลเพศใดเพศหนึ่ง ซึ่งวิถีปฏิบัติหรือปทัสถานนี้จะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมต่างๆ และตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป  เช่น
ü สภาพแวดล้อมในการทำงาน
ü ความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่ลื่นไหลเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม
ü กระแสสตรีนิยม สิทธิสตรี หรืออิทธิพลทางเศรษฐกิจ
ü ภาวะสงคราม หรือ ในภาวะฉุกเฉินอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ

ปัจจัยที่มีผลต่อเพศภาวะ (Gender)
                                          เพศภาวะเป็นบทบาททางสังคม ผู้ส่งผ่านการหลอมรวมทางสังคม (socializing agents)
ü    พ่อแม่
ü    ครู
ü    เพื่อนๆในโรงเรียน
ü    ผู้นำทางศาสนา
ü    สื่อ ฯลฯ
ü    เหมารวมด้านเพศภาวะ (gender stereotypes)
ผู้กระทำการเหล่านี้ได้ส่งผ่านการหลอมรวมด้านเพศภาวะ (gender stereotypes) สู่เด็กๆ จากรุ่นต่อรุ่น

เหมารวมด้านเพศภาวะ (gender stereotypes)
                                          คือการสรุปหรือถือเอาอย่างง่ายๆถึงคุณลักษณะ ความแตกต่าง และบทบาทของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
                                          ภาพเหมารวม (stereotypes) อาจเป็นด้านบวกหรือด้านลบ แต่การสรุปภาพเหมารวมนั้นๆ ไม่อาจแสดงหรืออ้างถึงข้อมูลที่ถูกต้องหรือเที่ยงตรงเกี่ยวกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านั้น
                                          บทบาทผู้หญิงแบบดั้งเดิมคือการต้องแต่งงานและมีลูก พวกเธอต้องทาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวก่อนตัวเอง
                                          บทบาทผู้ชายแบบดั้งเดิมคือการต้องเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงิน เขายังต้องเป็นผู้ที่ดูมีความมั่นใจในตัวเอง มีความสามารถในการแข่งขัน มีความเป็นอิสระ มีความกล้าหาญ และมีความมุ่งมั่นในการสร้างอาชีพการงาน สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี และเป็นฝ่ายรุกในด้านความสัมพันธ์ทางเพศ

ปัญหาของการเหมารวมเพศภาวะ
1.ทำให้อึดอัดในการแสดงความคิดที่แตกต่างหรือมีความคิดสร้างสรรค์
2.ทำต้องแอบซ่อนบุคลิกภาพเฉพาะตนและพัฒนาอาชีพการงานให้ก้าวหน้าตามแนวทางที่เหมาะสม

ความหลากหลายด้านเพศภาวะ (gender diversity)
ต้องการเปิดพื้นที่ให้กับการแสดงตัวตนหรืออัตลักษณ์ทางเพศของมนุษย์ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามบรรทัดฐานและกฎเกณฑ์ของสังคม
                                          ประเด็นที่มีการถกเถียงในเชิงแนวคิดทฤษฎีจากสกุลความคิดต่างๆในสังคมตะวันตก ซึ่งแบ่งออกเป็นสองขั้วใหญ่ๆสองขั้ว
Ø    ระหว่างขั้วที่เชื่อในระบบสองเพศ หรือความเป็นเพศตามธรรมชาติที่มีเพียงเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น และจะปฏิเสธหรือตำหนิการแสดงอัตลักษณ์/พฤติกรรมทางเพศที่ไม่ตรงกับเพศตามธรรมชาติ
Ø    ที่เชื่อว่ามนุษย์สามารถแสดงพฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึกและอัตลักษณ์ทางเพศได้หลากหลายโดยไม่จำเป็นต้องผูกติดอยู่กับเพศตามธรรมชาติหรือเพศสรีระแต่อย่างใด

ความหมายเกี่ยวกับเพศสภาพ
เพศ (Sex)
v   ลักษณะทางชีวภาพของหญิงหรือชาย ที่มีมาแต่กำเนิด
v   ผลของกระบวนการผสมและการ หลอมรวมรวมคุณสมบัติเฉพาะทางพันธุกรรมที่มักจะส่งผลให้ เกิดความแตกต่างกัน /  เพศชาย (Males)   /เพศหญิง(Females)

ผู้ชาย (Man/Men)
v   คือมนุษย์ผู้ ชายที่ เป็น ผู้ ใหญ่ หรือใช้ เรียก มนุษย์ หรือ เพศชาย
v   มีคุณสมบัติที่หลากหลายและมีอุปนิสัยที่ไปในทางความเป็นชาย เช่น ความแข็งแกร่ง

ผู้หญิง (Woman/Women)
v   คือมนุษย์เพศหญิง

ความเป็นชาย (Masculinity)
v   หมายถึงเป็นคุณภาพของบุคคล (possessing qualities) หรือคุณลักษณะ characteristics) ที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะเฉพาะหรือคุณลักษณะที่เหมาะกับเพศชาย

ความเป็นหญิง (Femininity)
v   ชุดของคุณสมบัติ (attributes) พฤติกรรม และ บทบาทโดยทั่วไปที่เชื่อมโยงเปลี่ยนผ่านระหว่างการเป็นเด็กหญิงและผู้หญิง ความเป็นหญิงถูกสร้างความหมายผ่านปัจจัยการหล่อหลอมทางสังคมและปัจจัยทางชีววิทยา

เพศสภาพ (Gender)
                                          เพศสภาพ (Gender)
v   ภาวะความเป็นหญิงความเป็นชายที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลาหนึ่งๆ
v   หมายถึงระดับของคุณลักษณะที่ใช้แยกความแตกต่างระหว่าง เพศชาย” (males) และ เพศหญิง” (females) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการแยกความแตกต่างระหว่าง ผู้ชาย” (men) และ ผู้หญิง” (women) และ ความเป็นชาย” (masculine) และ ความเป็นหญิง” (Feminine)

เพศวิถี (sexuality)
v   การที่บุคคลหนึ่งจะมีความรู้สึกประทับใจ สนใจ รัก มีความรู้สึกทางเพศ และมีความสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลซึ่งมีเพศภาวะ (gender) เดียวกันกับหรือแตกต่างจากตนเองหรือเหมือนกันกับตนเอง
v   ระบบความคิด ความเชื่อเรื่องเพศ  เป็นกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนด จัดการ กำกับ ควบคุม รวมทั้งการแสดงออกเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศ

ข้ามเพศภาวะ (Transgender)
สภาวะของอัตลักษณ์ของบุคคลที่ไม่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศที่ถูกกำหนดขึ้นไม่ว่าจะจากใครก็ตาม
ü    อาจจะเป็นกลุ่มคนที่สนใจเพศตรงข้าม (heterosexual)
ü    สนใจเพศเดียวกัน (homosexual)
ü    สนใจทั้งเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน (bisexual)
ü    สนใจคนข้ามเพศด้วยกัน (pansexual)
ü    สนใจคนหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน (polysexual)
ü    หรือ เป็นพวกไร้เพศ (asexual)
กลุ่มคนข้ามเพศบางคนมีความรู้สึกว่าการระบุอัตลักษณ์ของเพศวิถีแบบอนุรักษ์นิยมนั้นไม่เพียงพอหรือใช้กับกลุ่มของพวกตนไม่ได้ ดังนั้นคาจากัดความของกลุ่มข้ามเพศภาวะยังคงลื่นไหล ไม่แน่นอน แต่หมายรวมถึงคุณลักษณะเหล่านี้

สรุปจาก
กฤตยา อาชวนิจกุล .2554.เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย Sexuality Transition in Thai Society

สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล.2554.25 คำนิยามศัพท์ ที่เกี่ยวกับเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาผู้ผลิตอิสระระดับบุคคล ชุมชม เพื่อพัฒนารายการทีวีเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศในสื่อสาธารณะ ดำเนินโครงการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (...) ดำเนินโครงการในระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2544 เนื้อหาส่วนใหญ่รวบรวมจากบทความวิชาการหลากหลายบทความที่ค้นหาจาก google search engine และตำราวิชาการต่างๆ  
ธาวิต สุขพานิช. 2544. 108 เรื่องที่หญิงไทยควรรู้ (แต่ไม่เคยรู้ เพราะหลงนึกว่ารู้ๆดีกันอยู่แล้ว).กทม.พ๊อพบุ๊คส์ พับบลิค.
หลุยส์ ดูปลาตร์ (ไพโรจน์ กัมพูสิริ แปล). 2540. สถานะของหญิงมีสามีในประเทศสยาม. กทม.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


คำนิยามเกี่ยวเพศสภาพ
ž                                G= Gay
ž                                L= lesbian
ž                                B = Bisexual
ž                                T= transgender
ž                                I = Intersexual
ž                                Q=  Queer คนที่ไม่ระบุว่าเป็นเพศ unisex 



1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเพศสภาพ PDF
2.นิยามศัพท์เกี่ยวกับเพศสภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

🍎กติกาการเรียน🍎

🍎กติกาการเรียน🍎         🤩1.เข้าเรียนไม่ช้ากว่า คาบเช้า 9.00 คาบบ่าย 12.30 น.          🤩2.เรียน 14 ครั้ง (ไม่นับสัปดาห์สอบ) ขาดเรียนไ...